กระบวนการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์เพื่อปลูกฝังคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนกลันทาพิทยาคม



บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อพัฒนากระบวนการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์เพื่อปลูกฝังคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนกลันทาพิทยาคม    2.  เพื่อศึกษาผลการดำเนินการตามกระบวนการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์เพื่อปลูกฝังคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนกลันทาพิทยาคม  3.  เพื่อประเมินความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้สอน นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อกระบวนการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์เพื่อปลูกฝังคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนกลันทาพิทยาคม ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า ประกอบด้วย  1. กลุ่มผู้ร่วมศึกษาค้นคว้า และกลุ่มผู้ให้ข้อมูล จำนวน 84 คน ได้แก่  1) กลุ่มผู้ร่วมศึกษาค้นคว้า (Research Participants) จำนวน 18 คน ประกอบด้วย  ผู้ศึกษาค้นคว้า และผู้ร่วมศึกษาค้นคว้า จำนวน 17 คน  2) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลเพิ่มเติม จำนวน 35 คน ประกอบด้วย คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน  ตัวแทนผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 10 คน  และตัวแทนสารวัตรนักเรียน จำนวน 10 คน 2. กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย นักเรียน  จำนวน 270 คน และ ผู้ปกครองนักเรียน  จำนวน 270  คน กรอบเนื้อหา คือ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ 2 ด้าน คือ ด้านการมีวินัยในตนเอง ประกอบด้วย ด้านการแต่งกาย  ด้านการทำความเคารพ  ด้านการรักษาความสะอาด  ด้านการตรงต่อเวลา และด้านการเข้าแถวและเข้าคิวซื้ออาหาร  ส่วนด้านใฝ่เรียนรู้  ประกอบด้วย  ด้านความมุ่งมั่นในการเรียน   ด้านความสนใจในการเรียน  และด้านการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง  โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์  (Appreciation Influence Control : AIC)  เป็นกลยุทธ์ในการพัฒนาสร้างความตระหนัก และระดมความคิดในการวางแผนพัฒนาการดำเนินงาน จัดกิจกรรมที่พัฒนานักเรียน จำนวน 10 กิจกรรม ได้แก่  กิจกรรมอบรมคุณธรรมจริยธรรม กิจกรรม โฮมรูมโดยครูที่ปรึกษา  กิจกรรมช่วยเหลือนักเรียน  กิจกรรมเยี่ยมบ้านนักเรียน  กิจกรรมสารวัตรนักเรียน  กิจกรรมประกวดนักเรียนต้นแบบ  กิจกรรมประกวดเขตสะอาดดีเด่น  กิจกรรมห้องสมุดมีชีวิต  กิจกรรมสืบค้นด้วยอินเตอร์เน็ต และกิจกรรมค่ายทางวิชาการโดยใช้การนิเทศภายใน  ส่วนวิธีการวิจัย  ผู้ศึกษาใช้หลักการการวิจัยและพัฒนา  (Research  and  Development) โดยใช้รูปแบบการวิจัยปฏิบัติการ (Action Research) ใช้ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า จำนวน 2 วงรอบ ประกอบด้วย วงรอบที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 28 มกราคม 2554  ถึงวันที่ 30 กันยายน 2554  และวงรอบที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2554  ถึงวันที่ 15 มีนาคม 2555

สรุปผล
จากการวิเคราะห์ข้อมูลสรุปผลการศึกษาได้ดังนี้
1. ผลการพัฒนาการดำเนินงานกระบวนการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์เพื่อปลูกฝังคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนกลันทาพิทยาคมด้านการมีวินัยในตนเองและด้านใฝ่เรียนรู้  ในวงรอบที่  1 พบว่า หลังจากดำเนินการในด้านวินัยในตนเองและด้านใฝ่เรียนรู้ ทั้ง 10  กิจกรรมจนครบวงรอบที่ 1 นักเรียนมีพฤติกรรมด้านการมีวินัยในตนเองและด้านใฝ่เรียนรู้ดีขึ้น แต่ยังมีนักเรียนอีกจำนวนหนึ่งจำเป็นจะต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไปในวงรอบที่ 2   
2. ผลการพัฒนาการดำเนินงานกระบวนการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์เพื่อปลูกฝังคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนกลันทาพิทยาคมด้านการมีวินัยในตนเองและด้านใฝ่เรียนรู้  ในวงรอบที่ 2 พบว่า นักเรียนกลุ่มเป้าหมายยังไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์   จำนวน  20  คน  จากวงรอบที่ 1 ได้มีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ด้านการมีวินัยในตนเองที่ถูกต้องตามระเบียบของโรงเรียนทุกคน   สำหรับด้านใฝ่เรียนรู้ปรากฏว่ามีนักเรียนยังไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวน  4  คน  โรงเรียนสามารถแก้ปัญหาได้ 3 คน ส่วนอีก 1 คน   ผู้ปกครองได้แสดงความจำนงขอให้นักเรียนเรียนซ้ำอีก 1 ปี เนื่องจากนักเรียนได้ออกจากระบบโรงเรียนเป็นระยะเวลานานมากจนทำให้ผลการเรียนเกือบทุกรายวิชาได้ผลการเรียน 0/ร/มส  นอกจากนี้โรงเรียน คน  ด้านใฝ่เรียนรู้ปรากฏว่ามีนักเรียนยังไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวน  ยังดำเนินการจัดกิจกรรมตามที่วางแผนไว้ โดยมีการกำกับ  ติดตามของคณะครู ทำให้นักเรียนกลุ่มเป้าหมายที่ยังไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเอง  ได้มีการพัฒนาพฤติกรรมด้านการมีวินัยของตนเองดีขึ้นกว่าเดิม  นับว่ากิจกรรม ที่จัดขึ้นให้กับกลุ่มเป้าหมายและการดำเนินการติดตามของคณะครูประสบความสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ  นอกจากนี้ยังพบว่า  นักเรียนส่วนใหญ่ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติกิจกรรมที่นำมาพัฒนาเป็นอย่างดี ทำให้นักเรียนสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการให้ความสำคัญในการปลูกฝังคุณลักษณะที่พึงประสงค์ให้กับนักเรียนของผู้บริหารโรงเรียนและการให้ความร่วมมือของบุคลากรในโรงเรียนทุกคนว่ามีความตั้งใจในการที่จะปลูกฝังคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียนให้เป็นผู้มีพฤติกรรมที่พึงประสงค์มากน้อยเพียงใด
3.  สรุปผลการประเมินความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้สอน  นักเรียน  และผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อกระบวนการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์เพื่อปลูกฝังคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนกลันทาพิทยาคม คณะกรรมการสถานศึกษา     ขั้นพื้นฐานและครูผู้สอนมีความพึงพอใจ ด้านการมีวินัยในตนเองและด้านใฝ่เรียนรู้  ในระดับมากที่สุด ส่วนนักเรียนและผู้ปกครอง มีความพึงพอใจ ด้านการมีวินัยในตนเอง และด้านใฝ่เรียนรู้ ในระดับมาก




Manas  Wiangwiset. (2012). Creative Participated Administration to Cultivate Desirable  
       Attribute to the Students of Kalantapittayakhom School.  Buriram : Kalantapittayakhom.

Abstract

The purposes of the study were 1) to develop The Creative Participated Administration to Cultivate Desirable Attribute to the Students of Kalantapittayakhom School 2) to study the results of The Creative Participated Administration to Cultivate Desirable Attributes to the Students of Kalantapittayakhom School and 3) to assess the satisfaction of the school board, the teachers, the students and the parents on The Creative Participated Administration to Cultivate Desirable Attributes to the Students of Kalantapittayakhom School.  The scope of the study comprised of 1.  84 of co-educational group and informative contributors.  They were 1) 18 research participants; a researcher and 17 research participants 2) 35 additional informative contributors; 15 school board, 10 representatives of parents and 10 student inspectors.  2.  The samples were 270 students and 270 parents.  The content was two desirable attributes.  The first one was the Self-discipline; Dressing, Paying Respect, Cleanliness, Punctuality, Assembly and Queuing for Food.  The second was an Learning Enthusiastic; Learning Commitment, Learning Interest and Learning Self-pursuits by the learning process of Appreciation Influence Control: AIC.  This process was a strategy used for constructing the awareness and brainstorming on ten student development activities’ plan.  They were Ethics Training Activities, Home Room, Help & Care Activities, Home Visit Activities, Student Inspector, Trendy Students, Clean Areas Contest, Live Library (อ่านว่า ใลฟ์ ไลบรารี), Internet for Learning and Academic Camp by Intramural Supervision.  The study procedure used was the action research for research and development.  The study took two periods of conducting.  The first conducting period was during January 28, 2011 to September 30, 2011.  The second one was during November 1, 2011 to March 15, 2011.





Conclusion
                The data analysis of the study were performed as the following;
1.              The development result of The Creative Participated Administration to Cultivate
Desirable Attributes to the Students of Kalantapittayakhom School on Self-discipline and Learning Enthusiastic after ten activities conducting of the first conducting period was better.  However, there were some required to continued development on the second conducting period.
2.             The development result of The Creative Participated Administration to Cultivate
Desirable Attributes to the Students of Kalantapittayakhom School on Self-discipline and Learning Enthusiastic of the second conducting period found  was 20 students of the samples who were still unimproved to be the desirable behaviors after the first conducting period improved their behaviors with fulfillment.  Of the Learning Enthusiastic, there were 4 students of the samples who were still unimproved to be the desirable behaviors.  There were three students could be finally improved by school administrative section.  The only one left asked for one-year-learning recourse by parents owing to incomplete of courses on long term of school absent.  However, the pursuit of teachers on the students who were still unimproved their learning behaviors encouraged them to better improve their Self-discipline.  The activities conducted by the pursuit of the teachers succeeded in improving the samples with fulfillment.  In addition, the attentive participation on the activities conducted for behaviors development of most students supported them to improve their circumstances.  The significance of attributes cultivating must be earnestly emphasized by the administrator and the teachers’ participation as well. 
3.              The result of assessment of satisfaction of the school board, the teachers, the
students and the parents on The Creative Participated Administration to Cultivate Desirable Attributes to the Students of Kalantapittayakhom School, the school board and the teachers were satisfied with the Self-discipline and Learning Enthusiastic at the highest level.  Meanwhile, the students and the parents were satisfied with Self-discipline and Learning Enthusiastic at high level.

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น